Un title page

             

         1. ด้านผู้บริหารการรับ-จ่ายเงินและบริหารเงินคงคลัง ( ถ้ายังคงทำหน้าที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้แทนกรมธนารักษ์ ด้านเหรียญกษาปณ์ )
         2. ด้านการเงิน การงบประมาณ และการบัญชีภาครัฐ
            2.1 รวบรวมข้อมูลและรายงานการเงินจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดทั้งที่เป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาครัฐลักษณะพิเศษ รวมตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            2.2 ประมวลผลข้อมูลและรายงานการเงินของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อจัดทำเป็นงบการเงินจังหวัด (งบดุล งบรายได้ค่าใช้จ่าย)
            2.3 วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานการเงินของแต่ละหน่วยงาน และในภาพรวมของจังหวัด เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน
                  ฐานะทางการเงิน รวมทั้งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เพื่อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปใช้
                 
ในการบริหารกำหนดนโยบายต่อไป
            2.4 จัดทำฐานข้อมูลการเงินจังหวัดและเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการเงินของจังหวัดรวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ
                   ด้านการเงินแก่หน่วยงาน/บุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน
            2.5 พัฒนาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการจัดทำข้อมูลและบัญชีให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
            2.6 ประสานงานข้อมูลด้านการเงินระดับจังหวัดกับหน่วยงานกลางและสำนักงานคลังเขต
            2.7 เป็นผู้ตรวจสอบ รับรองงบดุล และงบรายรับ-รายจ่ายประจำปีของเหล่ากาชาดและกิ่งกาชาด
        3. ด้านตรวจสอบภายใน ( ให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรม )
        4. ด้านกฏหมาย ระเบียบ การเงิน การคลัง การพัสดุ ( ให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรม )
        5. ด้านเศรษฐกิจการคลังจังหวัด ( ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีและรายได้ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในรูปแบบทีมบริหารเศรษฐกิจการคลังระดับจังหวัด )
            5.1 เป็นศูนย์ข้อมูลทางเศรษฐกิจแลการเงินการคลังจังหวัด
            5.2 จัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด ( Gross Provincial Product : GPP ) และจัดทำงบดุลจังหวัด ( Provincial Balance Sheet )
            5.3 จัดทำรายงานด้านเศรษฐกิจการคลังของจังหวัดเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และกระทรวงการคลัง ทั้งด้านรายได้ ด้านรายจ่าย และด้านภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งสิ้น 71 รายการต่อปีมีรายละเอียดดังนี้
               1. ด้านรายได้
                  1.1 การจัดทำแผนรายได้จังหวัด
                    - ตารางประมาณการรายได้จังหวัดในแต่ละปีงบประมาณ ปีละ 4 ตาราง
                    - รายงานผลการวิเคราะห์และความเห็นปีละ 4 ฉบับ
               2. ด้านรายจ่าย
                  2.1 การจัดทำแผนรายจ่ายจังหวัด
                    - รายงานผลการประเมินและคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจของจังหวัด ปีละ 1 ฉบับ
                    - รายงานผลการวิเคราะห์ขนาดและทิศทางการใช้งบลงทุนของจังหวัด ปีละ 1 ฉบับ
                  2.2 การบริหารรายจ่ายในจังหวัด
                    - ตารางการเปรียบเทียบผลการเบิกจ่ายกับการประมาณรายจ่ายของจังหวัดในแต่ละเดือน ปีละ 12 ฉบับ
                    - รายงานผลการวิเคราะห์และความเห็น ปีละ 12 ฉบับ
               3. ด้านภาวะเศรษฐกิจ โดยการจัดแผนพัฒนาเศรษกิจในจังหวัด
                    - แผนพัฒนาเศรษกิจการคลังประจำปี ปีละ 1 ฉบับ
                    - รายงานภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดปีละ 12 ฉบับ ( รวบรวมจากเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ )
             5.4 ให้ข้อเสนอแนะ คำปรึกษา และเสนอนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาจังหวัด
             5.5 แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจจังหวัด
             5.6 เป็นเลขานุการคณะกรรมการเศรษฐกิจการคลังจังหวัด ( มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน )
             5.7 เป็นประธานกรรมการบริหารเศรษฐกิจการคลังประจำจังหวัด ( มีหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ )
       6. ภาระกิจอื่นตามนโยบายที่ไดรับมอบหมายจากกรมบัญชีกลาง/กระทรวงการคลัง

 

 

 


หน้าที่ของสำนักงานคลังจังหวัด (CFO)