PSO

 P.S.O. ย่อมาจาก “ Thailand  International Public  Sector  Standard  Management  System and Outcomes”


 P.S.O.  คือ  มาตราฐานและพัฒนาระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ
              P.S.O.  เป็นนโยบายสาธารณะที่มุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการถือเป็นนโยบายที่ที่ต้องดำเนินการพัฒนา โดยเน้น
              สัมฤทธิ์รวมของภาคราชการทั้งระบบและการพัฒนามาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ เน้นประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง
              เป้าหมายภาคราชกาเน้นผลลัพธ์บั้นปลายที่ครอบคลุมระบบต่างๆ ดังนี้

                      ความเสมอภาค
                       ความเป็นธรรม
                       ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                       สิทธิเสรีภาพ
                       ความทั่วถึงในการให้บริการ
                       ความพึงพอใจของประชาชน
                       ประสิทธิภาพของหน่วยงานราชการ
                       ประหยัด
                       ถูกต้อง
                       การรักษาผลประโยชน์สาธารณะและสิ่งแวดล้อม
                      ความผาสุข  คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม

 ลักษณะของ P.S.O.
              มาตรฐานสากลภาครัฐ (P.S.O) เป็นนวัตกรรมใหม่ของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบ
มาตรฐานการจัดการ และ สัมฤทธิ์ผลภาครัฐ โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ

              ส่วนแรก ได้แก่ระบบมาตรฐานคุณภาพด้านการบริหารจัดการ 10 ระบบย่อย ดังนี้

                             1. ระบบข้อมูล (P.S.O. 1101)
                             2. ระบบสื่อสาร (P.S.O. 1102)

                             3. ระบบการตัดสินใจ (P.S.O. 1103)
                             4. ระบบการพัฒนาบุคลากร (P.S.O. 1104)
                             5. ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลย์ (P.S.O. 1105)
                             6. ระบบการมีส่วนร่วม (P.S.O. 1106)
                             7. ระบบการบริการภาคเอกชนแลประชาชน (P.S.O. 1107)
                             8. ระบบการประเมินผล (P.S.O. 1108)
                             9. ระบบการคาดคะเนและแก้ไขวิกฤติ (P.S.O. 1109)
                           10. ระบบวัฒนธรรมและจริยาวิชาชีพ (P.S.O. 1110)

               ส่วนที่สอง ได้แก่มาตรฐานสัมฤทธิ์ผลของการปฏิบัติ คือ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลลัพธ์บั้นปลาย และระบบป้องกัน
ผลลัพธ์บั้นปลายที่ไม่พึงปรารถนา (P.S.O. 2101)
                                จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดที่มีการบริหารงานแบบบูรณาการเพื่อกาพัฒนา (C.E.O.) และเป็นจังหวัด
นำร่องที่ได้ดำเนินการพัฒนามาตรฐานด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของภาครัฐ โดยมีส่วนราชการในจังหวัดจำนวน 35 หน่วยงานที่แสดงเจตน์จำนงค์เข้าร่วมรับการส่งเสริมเพื่อเข้าสู่ระบบมารฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการ และสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ
                            สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง เป็นหนึ่งใน 35 หน่วยงานที่แสดงเจตน์จำนงค์ขอเข้าร่วมรับการส่งเสริมเพื่อเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลประเทศไทย ด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลงานภาครัฐระบบข้อมูล (P.S.O. 1101) และระบบการบริการภาคเอกชนและประชาชน (P.S.O. 1107) ด้วย ทั้งนี้เพื่อต้องการเพื่อประสิทธิ ภาพในการทำงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น และเป็นระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ